ประกันรถยนต์ภาคบังคับ: ข้อดี-ข้อเสีย

07/07/2014 16:15

เกร็ดความรู้ดีๆจาก  ประกันภัยรถยนต์ โปรโมชั่น ประกันรถยนต์ ดีๆ
เบื่อซ่อม อยากขาย ไว้ใจ  รถยนต์มือสอง ตลาดรถ รับฝากขายรถมือสอง เปรียบเทียบรถยนต์ ฟรี!!

กฎหมายใหม่ให้ผู้ประสบภัยจากรถได้ประโยชน์มากกว่ากฎหมายในปัจจุบันทั้งการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่รวดเร็วเป็นธรรมรวมถึงวงเงินค่าเสียหายเบื้องต้นที่สูงขึ้นจากเดิมและมีต้นทุนในการดำเนินงานถูกลงเพราะให้หน่วยงานรัฐเป็นผู้บริหารเก็บเบี้ยแทนบริษัทประกันภัย ซึ่งจะทำให้เบี้ยลดลงในอนาคต

ข้อดีของ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

  1. ระบบการ ประกันภัยภาคบังคับ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานจาก 38% ของเบี้ยเพราะภายใต้ร่างกฎหมายฉบับใหม่ภาครัฐเป็นผู้บริหารจัดการทั้งหมด
  2. ผู้ประสบภัยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน เพราะเมื่อระบบมีเอกภาพแนวทางการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นไปในแนวทางเดียวกันหมด ทำให้ผู้ประสบภัยไม่เจอปัญหาเรื่องการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับล่าช้าหรือไม่ได้รับตามสิทธิที่ควรได้
  3. แนวทางการตรวจสอบเอกสารและจ่ายเงินเป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ สถานพยาบาลและผู้ประสบภัยสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินค่าเสียหายได้สะดวกมากขึ้น
  4. ลดปัญหาที่เกิดจากการรอผลพิสูจน์ความผิดทางกฎหมาย เมื่อระบบมีเอกภาพโดยมีกองทุนฯทำหน้าที่จ่ายค่าเสียหายแต่เพียงผู้เดียวสามารถขจัดเงื่อนไขในการขอรับค่าเสียหายที่เกี่ยวข้องกับผลพิสูจน์ความผิดทางกฎหมายไปได้ ทำให้ปัญหาที่สืบเนื่องจากการที่ต้องพิสูจน์ความผิดทางกฎหมายหมดไป
  5. ผู้ประสบภัยมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเท่ากันทุกคนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก หรือหาคู่กรณีไม่ได้ก็ตาม
  6. ปรับเพิ่มค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยจะได้รับเนื่องจากต้นทุนในการบริหารจัดการที่ลดลง รัฐจึงสามารถเพิ่มการชดเชยค่าเสียหายที่สูงกว่าในปัจจุบันได้
  7. ลดภาระกองทุนประกันสุขภาพระบบอื่นๆ ที่พึ่งภาษีและค่าประกันตน เมื่อให้สถานพยาบาลทำเรื่องเบิกโดยตรงกับกองทุนโดยผู้ประสบภัยไม่ต้องทำเรื่องเบิกเอง ปัญหาที่ผู้ประสบภัยเลี่ยงไปใช้สิทธิระบบประกันสุขภาพระบบอื่นจึงหมดไป และการที่ระบบประกันภัยรถภาคบังคับมีเอกภาพ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบการประกันภัยรถภาคบังคับในปัจจุบันก็จะหมดไปส่งเสริมให้ผู้ประสบภัยที่ใช้สิทธิตามการประกันภัยภาคบังคับเพิ่มขึ้น

เทียบกับระบบเดิมแม้เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เบิกค่ารักษาพยาบาลส่วนแรก จากการประกันภัยรถภาคบังคับก่อนที่จะไปเบิกจากกองทุนประกันสุขภาพระบบอื่น แต่ในปัจจุบันผู้ประสบภัยส่วนใหญ่จะเบิกจากกองทุนประกันสุขภาพระบบอื่นทันที โดยไม่ใช้สิทธิประกันภัยรถภาคบังคับ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของกองทุนประกันสุขภาพระบบอื่นเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น

ผลเสีย

  1. ส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่รับประกันภัยภาคบังคับแต่ไม่มาก เนื่องจากประกันภัยภาคบังคับเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธุรกิจประกันวินาศภัยเท่านั้นและมีสัดส่วนของเบี้ยค่อนข้างต่ำ ส่วนบุคคลอื่นๆที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ พนักงานบริษัทประกันภัยที่มีประมาณ 3,000 คน
  2. นายหน้า ซึ่งคนกลุ่มนี้มีรายได้หลักจากธุรกิจอื่นอยู่แล้ว อีกทั้งภายใต้ระบบใหม่คนกลุ่มนี้จะมีรายได้จากธุรกิจการให้บริการรับฝากต่อทะเบียนรถ พร้อมกับการรับฝากทำประกันภัย
  3. เป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แต่ทำหน้าที่เหมือนนายหน้า เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย บริษัทสามารถปฏิเสธกรมธรรม์ที่ลูกค้าสามารถซื้อจากกลุ่มบุคคลเหล่านี้ได้ ดังนั้นการยกเลิกการประกันภัยกับบริษัทประกันวินาศภัย จึงช่วยเอื้อให้การดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมายนี้หมดไป

     

    ​ที่มา : askhanuman.co.th